บทความ

ทำตัวเหมือนโจร (มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ห้า)

รูปภาพ
ทำตัวเหมือนโจร ๑ ๑. บาลี พระพุทธภาษิต ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๔๕/๑๐๓, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ห้า ย่อมมีโอกาสตัดช่องก็ได้ ย่องเบาก็ได้ ปล้นสดมภ์ก็ได้ ตีชิงก็ได้. องค์ห้าอย่างไรกันเล่า ? องค์ห้าในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม ๑, ได้อาศัยที่กำบัง ๑, ได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ ๑, ได้อาศัยการโปรยทรัพย์ ๑, เที่ยวไปคนเดียว ๑. มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยเกาะแก่งในแม่น้ำ หรือได้อาศัยหุบเหวตามภูเขา. นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้อาศัยที่ซ่องสุม. มหาโจรได้อาศัยที่กำบัง เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ มหาโจรได้อาศัยพงหญ้าหรือป่ารก ได้อาศัยเนินดินหรือราวป่าใหญ่เพื่อเป็นที่กำบัง นี้แล เรียกว่า มหาโจรได้อาศัยที่กำบัง. มหาโจรได้อาศัยพึ่งพิงผู้มีอำนาจ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ คือ มหาโจรได้อาศัยพระราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา เป็นที่พึ่งว่า “ถ้าใครจักโจทเราด้วยเรื่องอะไร ๆ พระราชาหรืออำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชา เหล่าน...

งูเปื้อนคูถ (เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม)

รูปภาพ
งูเปื้อนคูถ ๑ ๑. บาลี พระพุทธภาษิต ติก. อํ. ๒๐/๑๕๘/๔๖๖, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นักบวชชนิดไร ที่ทุกๆ คนควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้? ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคนในกรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะมีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย. ภิกษุ ท. ! นักบวชชนิดนี้แล ที่ทุกๆ คนควรขยะแขยง ไม่ควรสมาคม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้. ข้อนั้นเพราะอะไร? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า ถึงแม้ผู้ที่เข้าใกล้ชิด จะไม่ถือเอานักบวชชนิดนี้ เป็นตัวอย่างก็ตาม, แต่ว่า เสียงล่ำลืออันเสื่อมเสียจะระบือไปว่า “คนคนนี้ มีมิตรเลว มีเพื่อนทราม มีเกลอลามก” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนงูที่ตกลงไปจมอยู่ในหลุมคูถ กัดไม่ได้ก็จริงแล, แต่มันอาจทำคนที่เข้าไปช่วยยกมันขึ้นจากหลุมคูถ ให้เปื้อนด้วยคูถได้ (ด้วยการดิ้นของมัน) นี้ฉันใด ๒ ; ๒. อรรถกถา เปรียบความทุศีลกับหลุมคูถ, ...

น้ำติดก้นกะลา (ไม่มีความละอาย ในการแกล้งกล่าวเท็จ)

รูปภาพ
น้ำติดก้นกะลา ๑ ๑. บาลี พระพุทธภาษิต จูฬราหุโลวาทสูตร ม. ม. ๑๓/๑๒๓/๑๒๖, ตรัสแก่พระราหุล ขณะที่ทรงล้างพระบาทด้วยพระองค์เอง แล้วทรงเหลือน้ำติดก้นกะลา เพื่อเป็นอุปมา, ที่เวฬุวัน ใกล้นครราชคฤห์. ๑. “ราหุล ! เธอเห็นน้ำที่เหลืออยู่นิดหนึ่งที่ก้นภาชนะนี้หรือ?” “เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !” “ราหุล ! นักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มีความเป็นสมณะนิดเดียว เหมือนน้ำที่เหลืออยู่ที่ก้นภาชนะนี้ ฉันนั้น” พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสาดน้ำนั้นเทไป (ด้วยอาการที่น้ำจะเหลือติดอยู่ได้น้อยที่สุดเป็นธรรมดา) แล้ว ตรัสว่า :- ๒. “ราหุล ! เธอเห็นน้ำที่ถูกสาดเทไปแล้ว มิใช่หรือ?” “เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !” “ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มีความเป็นสมณะเหลืออยู่น้อย เหมือนน้ำที่สักว่าเหลือติดอยู่ตามภาชนะ (หลังจากที่สาดเทออกไปแล้วโดยแรง) นี้ ฉันนั้น”. ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้นแล้ว ตรัสว่า :- “ราหุล ! เธอเห็นภาชนะที่คว่ำอยู่แล้วนี้ มิใช่หรือ?” “เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !” ...

ผ้าเปลือกปอ (เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม)

รูปภาพ
ผ้าเปลือกปอ ๑ ๑. บาลี พระพุทธภาษิต ติก. อํ. ๒๐/๓๑๗/๕๓๙, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! ผ้าทอด้วยเปลือกปอ ถึงจะยังใหม่อยู่ สีก็ไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ราคาก็ถูก, แม้จะกลางใหม่ กลางเก่าแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมาก, แม้จะเก่าคร่ำแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมากอยู่นั่นเอง. ผ้าเปลือกปอ ที่เก่าคร่ำแล้ว มีแต่จะถูกใช้เช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งอยู่ตามกองขยะมูลฝอย นี้ฉันใด ; ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ที่ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : แม้เพิ่งบวชใหม่ เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่มีสีไม่งาม นั้นนั่นแหละ. เรากล่าวภิกษุนี้ ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน ; เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ. อนึ่ง ภิกษุนั้น รั...

เหตุเกิดของทุกข์ คือ ผัสสะ

รูปภาพ
เหตุเกิดของทุกข์ ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น, ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ : อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม). ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย อะไรเล่า? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ, ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง; แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย. ๑. อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น : สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง, แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัย ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดได้; ๒. สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้, แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัย ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้; ๓. สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์...

ทาง ๒ สายที่ไม่ควรเดิน

รูปภาพ
ทาง ๒ สายที่ไม่ควรเดิน ภิกษุทั้งหลาย ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร? คือ ๑. การประกอบตนพัวพัน อยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ๒. และการประกอบความเพียร ในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้นคือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ...

เหตุให้ค้าขายได้กำไร หรือขาดทุน

รูปภาพ
เหตุให้ค้าขายได้กำไร หรือขาดทุน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายขาดทุน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์. (๑) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า “ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์” เขากลับไม่ถวายปัจจัยที่เขาปวารณา ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมขาดทุน. (๒) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า “ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์” แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ไม่เป็นไปตามประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์. (๓) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า “ขอท่านจง...

เชื่อว่ากรรมไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง

รูปภาพ
เชื่อว่ากรรมไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! คนเขาวางเครื่องดักปลา ไว้ที่ปากแม่น้ำ ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่พวกปลาทั้งหลาย ฉันใด; มักขลิโมฆบุรุษ เกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนกับผู้วางเครื่องดักมนุษย์ไว้ ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาผ้าที่ทอด้วยสิ่งที่เป็นเส้นๆ กันแล้ว ผ้าเกสกัมพล (ผ้าทอด้วยผมคน) นับว่าเป็นผ้าเลวที่สุด. ผ้าเกสกัมพลนี้ เมื่ออากาศหนาว มันก็เย็นจัด, เมื่ออากาศร้อน มันก็ร้อนจัด. สีก็ไม่งาม กลิ่นก็เหม็น เนื้อก็กระด้าง; ข้อนี้เป็นฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิต่างๆ ของเหล่าปุถุสมณะ (สมณะอื่นทั่วไป) แล้ว ลัทธิมักขลิวาท นับว่าเป็นเลวที่สุด ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! มักขลิโมฆบุรุษนั้น มีถ้อยคำและหลักความเห็นว่า “กรรมไม่มี, กิริยาไม่มี, ความเพียรไม่มี” (คือในโลกนี้ อย่าว่าแต่จะมีผลกรรมเลย แม้แต่ตัวกรรมเองก็ไม่มี, ทำอะไรเท่ากับไม่ทำ ในส่วนของกิริยาและความเพียร ก็มีนัยเช่นเดียวกัน). ภิกษุทั้งห...

เปรตรับผลบุญได้ การสงเคราะห์ผู้ล่วงลับไปแล้ว

รูปภาพ
การสงเคราะห์ผู้ล่วงลับไปแล้ว พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภคทานนี้ (อิทํ ทานํ เปตา ญาติสาโลหิตา ปริภุญฺชนฺติ). พระโคดมผู้เจริญ ! ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้น ย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ. พราหมณ์ ! ทานนั้น ย่อมสำเร็จในฐานะ {๑} . และย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ. {๒} ๑. โอกาสที่เป็นได้ (สถานภาพในภพนั้น ที่ยังความสำเร็จประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้) ๒. โอกาสที่เป็นไปไม่ได้ (สถานภาพในภพนั้น ที่ยังความสำเร็จประโยชน์ให้เกิดขึ้นไม่ได้) พระโคดมผู้เจริญ ! ฐานะเป็นอย่างไร อฐานะเป็นอย่างไร. ๑. พราหมณ์ ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก. พราหมณ์ ! ฐ...

ดอกบัว ๓ เหล่า ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า

รูปภาพ
ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมแล้ว, และเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ ท. เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว. เมื่อเราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุอยู่, เราได้เห็นสัตว์ ท. ผู้มีธุลีในดวงตาเล็กน้อยบ้าง มีมากบ้าง, ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง, มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง, อาจสอนให้รู้ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง; และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี; เปรียบเหมือนในหนอง บัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก, ๑. ดอกบัวบางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ, ๒. บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ, ๓. บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว, มีฉันใด, ราชกุมาร ! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันฉันนั้น. ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราได้รับรอง กะสหัมบดีพรหมด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์) ว่า :- “ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์เหล่านั้น, สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลงศรัทธาลงไปเถิด, ...

มนุษย์ต่างดาว ทรงเปล่งเสียงคราวเดียว ได้ยินตลอดทุกโลกธาตุ

รูปภาพ
ทรงเปล่งเสียงคราวเดียว ได้ยินตลอดทุกโลกธาตุ อานนท์ ! ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ แผ่รัศมีส่องแสง ให้สว่างไปทั่วทิศ กินเนื้อที่ประมาณเท่าใด โลกมีเนื้อที่เท่านั้น มีจำนวนพันหนึ่ง. ในพันโลกนั้น มีดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวง ภูเขาสิเนรุพันลูก ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป อุตรกุรุพันทวีป ปุพพวิเทหะพันทวีป มหาสมุทรสี่พัน มหาราชสี่พัน จาตุมมหาราชพันหนึ่ง ดาวดึงส์พันหนึ่ง ยามาพันหนึ่ง ดุสิตพันหนึ่ง นิมมานรดีพันหนึ่ง ปรนิมมิตวสวัตตีพันหนึ่ง พรหมพันหนึ่ง นี้เรียกว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ. สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ มีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คำนวณทวีขึ้น โดยส่วนพัน นั้นเรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ. ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุมีขนาดเท่าใด โลกธาตุขนาดเท่านั้น คำนวณทวีขึ้น โดยส่วนพัน นั้นเรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ. อานนท์ ! ตถาคต เมื่อมีความจำนง ก็ย่อมพูดให้ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ ได้ยินเสียงทั่วกันได้, หรือว่าจำนงให้ได้ยินเพียงเท่าใด ก็ได้. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เป็นไปได้ด้วยวิธีอย่างใด พระเจ้าข้า ?” อานนท์ ! ตถ...

แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก (สัมมาสติ)

รูปภาพ
แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเอก อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่. ธรรมอันเอกนั้น คืออะไรเล่า? คือ อานาปานสติ. ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้ มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? (แบบที่หนึ่ง) ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (นั่งขัดสมาธิ) ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก : ๑. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกยาว; ๒. หรือว่า เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกสั้น; ๓. ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงจักหายใจออก ดังนี้ ; ๔. ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำก...

สติปัฏฐานสี่ ที่ส่งผลถึงวิชชาและวิมุตติ (สัมมาสติ)

รูปภาพ
สติปัฏฐานสี่ ที่ส่งผลถึงวิชชาและวิมุตติ กุณฑลิยะ ! สติปัฏฐานสี่ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์? กุณฑลิยะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก ; (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน). กุณฑลิยะ ! สติปัฏฐานสี่ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์. กุณฑลิยะ ! โพชฌงค์เจ็ด อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์? กุณฑลิยะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง ; (ในกรณีแห่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน). กุณฑลิยะ ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์. - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐๗ - ๑๐๘/ ๓๙๘-๓๙...

สติปัฏฐานสี่ เป็นโคจรสำหรับสมณะ (สัมมาสติ)

รูปภาพ
สติปัฏฐานสี่ เป็นโคจรสำหรับสมณะ ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตนเถิด เมื่อเธอเที่ยวไปในที่ ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน, มารจักไม่ได้ช่องทาง และไม่ได้โอกาสที่จะทำตามอำเภอใจของมัน. ภิกษุ ท. ! ที่ที่ควรเที่ยวไปซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน คืออะไรเล่า? คือ สติปัฏฐานสี่. สี่อย่างไรเล่า ? สี่คือ ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ :- ๑. เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัม ปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ๒. เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ๓. เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ๔. เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้แล ที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน. - มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๙๘/๗๐๐. อริยสัจจากพระโอษฐ์...

สัมมาสติในฐานะเครื่องทำตนให้เป็นที่พึ่ง (สัมมาสติ)

รูปภาพ
สัมมาสติ ในฐานะเครื่องทำตนให้เป็นที่พึ่ง อานนท์ ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด. อานนท์ ! อย่างไรเล่าเรียกว่าภิกษุผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่? อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นซึ่งกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก ; เป็นผู้ตามเห็นซึ่งเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก ; เป็นผู้ตามเห็นซึ่งจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ตามเห็นซึ่งธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก. อานนท์ ! อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มี...