บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2020

วันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน และอานิสงส์ การถวายผ้าอาบน้ำฝน

รูปภาพ
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งคำว่า "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุ ในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน แก่ประชาชน ไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่า ไปเหยียบข้าวกล้า และพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบ การจำพรรษา ให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็น วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็น ซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้ว ไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืน ได้คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ส่วนระหว่างเดินทาง ก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์ เข้ามาทันในหมู่บ้าน หรือในเมือง ก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทัน ก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่...

วันอาสาฬหบูชา วันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา ที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก

รูปภาพ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรม ที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก แก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดัง ผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรม ให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยาย อาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็น และความสงบสุข มาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้นธรรมเทศนา ที่ทรงแสดงครั้งแรก จึงได้ชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ที่แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุน วงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยาย ธรรมจักร กล่าวคือ ดินแดนแห่งธรรม เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่ แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูในทุกด้าน และมีคนหลายประเภท ทั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อ และข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวย ได้ประกอบพิธีกรรมแก่ตนอย่างเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิต ที่วนเวียนในอำนาจ และโภคสมบัติ ที่ออกบวช หรือบางพวก ก็แสวงหาคำตอบ ที่เป็นทางรอด...

สาเหตุของการต้องตั้งนโม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

รูปภาพ
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เดือน ๓ ข้างขึ้น หลังจากออกพรรษาแล้ว เป็นระยะเวลาที่ท่านอาญาครูดี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ต่อมาได้ปวารณาตนขอเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สาเหตุที่พบกันมีอยู่ว่า ระยะเวลาดังกล่าวพระอาจารย์มั่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรอีกหลายรูปได้เที่ยวธุดงค์ไปพักที่วัดป่าภูไทสามัคคี บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ญาติโยมทั้งหลายในบ้านม่วงไข่ได้พากันไปนมัสการ และขอฟังพระธรรมเทศนาของท่าน สำหรับพระภิกษุที่ไปร่วมฟังด้วยในคราวนั้น ก็มีท่านอาญาครูดี พระอาจารย์ฝั้น และพระอาจารย์กู่ พระอาจารย์มั่นได้แสดงพระธรรมเทศนาเบื้องต้นในเรื่องการให้ทาน รักษาศีล และการบำเพ็ญภาวนา ตามขั้นภูมิของผู้ฟัง ว่าการให้ทานและการรักษาศีลภาวนานั้น ถ้าจะให้เกิดผลานิสงส์มากจะต้องละจากความคิดเห็นที่ผิดให้เป็นถูกเสียก่อน ท่านยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวชาวบ้านมากที่สุดขึ้นอ้างว่า ชาวบ้านม่วงไข่นั้นส่วนใหญ่นับถือภูตผีปีศาจ ตลอดจนเทวดาและนางไม้เป็นสรณะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลวไหลไร้เหตุผล ท่านได้แสดงข้อเท็จจริงขึ้นหักล้างหลายประการ และ...

เป็นทุกข์ จากการพลัดพราก ปล่อยวางอย่างไรดี

รูปภาพ
ครูบาอาจารย์ท่านให้ข้อคิดเตือนสติว่า การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักนั้น ก็ย่อมจะทำให้มีความทุกข์ เป็นเรื่องธรรมดา และการพบเห็น ในสิ่งที่ไม่รัก ก็ย่อมจะทำให้เป็นทุกข์ เช่นเดียวกัน ส่วนความทุกข์ที่เกิด จากการพลัดพรากนั้น มันเป็นเรื่องที่ทรมานใจ ของหลายๆ คน เป็นอย่างมาก และการที่เราจะไปบังคับ เพื่อไม่ให้พลัดพรากกันนั้น มันก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เช่นกัน เพราะเราทุกคนที่เกิดมา เมื่อถึงเวลา ก็ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และสิ่งที่พอใจ ในวันใดวันหนึ่ง ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ยาก ที่เราจะไม่มีความโศกเศร้าเสียใจ แล้วทำไม เราจึงต้องโศกเศร้าเสียใจด้วย ท่านว่าการที่เราโศกเศร้าเสียใจนั้น ก็เป็นเพราะ เรามีความผูกพันในสิ่งอันเป็นที่รัก แต่ถ้าหากเราไม่มีความผูกพัน ไม่ติดข้องแล้ว เราก็จะไม่เสียใจ และจะปล่อยวางได้ในระดับหนึ่ง ท่่านว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มันไม่มีอะไร เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเริ่มต้น มันก็ย่อมมีการสิ้นสุด ถึงแม้ว่า เราจะต้องการ หรือไม่ต้องการก็ตาม เมื่อถึงเวลา เราก็ต้องพลัดพรากจากสิ่งของ หรือคนที่เรารัก เป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ และยิ่งถ...