การเบียดเบียนผู้อื่น จะนำทุกข์มาให้ตนเอง
สวัสดีครับคุณผู้ชม คลิบนี้ผมมีคติธรรมและข้อคิด
เรื่องของการเบียดเบียนผู้อื่น จะนำทุกข์มาให้ตนเอง มาฝาก ครับ
บางคนนั้น อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากจะตายจากโลกนี้ไป และไม่ใช่เพียงแต่ภพชาตินี้เท่านั้น แม้ในภพชาติไหนก็ตาม เขาก็ยังอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่อยากตาย เพราะรักความสุข และเกลียดความทุกข์ แต่การกระทำใดๆ ที่เราคิดว่า จะทำให้ตัวเองนั้น ได้พบกับความสุข ในภพชาตินี้ แต่ถ้าหากผลของการกระทำนั้น จะทำให้เรา ต้องพบความทุกข์ในภพชาติต่อไป เราควรจะกระทำ หรือสร้างกรรมไม่ดีต่างๆ หรือไม่ คลิบนี้ผมจึงเอาคติธรรมและข้อคิด จากครูบาอาจารย์ มาให้รับชม เผื่อจะเป็นประโยชน์ และเป็นข้อคิดให้กับทุกท่าน ในการใช้ชีวิต เพราะการกระทำ ที่ไม่ดีต่างๆ นั้น หากเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น การกระทำนั้น ก็ไม่ได้ทำให้เรา พบกับความสุขที่แท้จริงได้ แม้ในปัจจุบันนี้ก็ตาม
ถ้าเรา ชอบเบียดเบียนผู้อื่น และชอบละเมิดศีลอยู่บ่อยๆ เราก็จะได้รับความทุกข์ จากการกระทำไม่ดีเหล่านั้น อย่างเช่น จะมีความเสื่อมในทรัพย์สมบัติ มีชื่อเสียงที่ไม่ดีกระฉ่อนออกไป เป็นคนที่ขี้หลงขี้ลืมง่าย สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เป็นต้น แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราตั้งเจตนาไว้ว่า จะไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตั้งเจตนา จะรักษาศีล เราก็จะเป็นคนที่ได้รับอานิสงส์ จากการกระทำความดี อย่างเช่น มีโภคทรัพย์ ไม่เดือดร้อนในเรื่องเงินทอง มีคนคอยช่อยเหลือ มีกิตติศัพท์ชื่อเสียงดีงาม จะไปในสถานที่ใด ก็จะมีความกล้าไม่เก้อเขิน มีสติปัญญาดี ไม่หลงลืมง่าย หลังจากตายไปแล้ว ก็ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครับ
การเบียดเบียนผู้อื่น จะนำทุกข์มาให้ตนเองนั้น มีตัวอย่าง เรื่องของคน ๓ จำพวก ซึ่งเล่าไว้ดังนี้ ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี มีภิกษุกลุ่มหนึ่ง เดินทางมาเพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ในระหว่างทางนั้น ได้เข้าไปในบ้านแห่งหนึ่ง เพื่อบิณฑบาต ชาวบ้านก็รับบาตร ของภิกษุเหล่านั้น แล้วนิมนต์ให้นั่งรอในโรงฉัน ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว ระหว่างรอเวลาบิณฑบาต ก็ได้นั่งฟังธรรมอยู่ และในขณะนั้น มีหญิงคนหนึ่ง กำลังหุงข้าวและปรุงอาหารอยู่ เปลวไฟได้ลุกขึ้นจากเตา ของผู้หญิงคนนั้นไปติดที่ชายคา ไฟก็ได้ลามไปติดเสวียนหญ้าอันหนึ่ง แล้วปลิวลอยขึ้นจากชายคา ลอยสูงไปบนท้องฟ้า ในขณะเดียวกันนั้น ก็มีกาตัวหนึ่ง บินมาทางอากาศโดยไม่ทันระวัง สอดคอเข้าไปในเสวียนหญ้านั้น จนถูกเสวียนหญ้า ที่ลุกติดไฟพันคออยู่ แล้วก็ไหม้ตกลงมาตาย ที่กลางหมู่บ้าน ภิกษุทั้งหลาย เห็นเหตุการณ์แล้ว ก็คิดว่า "โอ กรรมนี้หนักเหลือเกิน ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงดูกาตัวนี้ ใครจะรู้ว่ากรรม ที่กาตัวนี้เคยทำเอาไว้ พวกเราจะทูลถาม กรรมของกาตัวนี้ จากพระศาสดา" ดังนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็เดินทางต่อ เพื่อไปเฝ้าพระศาสดา
ระหว่างนั้น ก็ยังมีภิกษุอีก ๒ กลุ่ม กำลังเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเข้าเฝ้าพระศาสดา เช่นเดียวกัน และภิกษุทั้ง ๒ กลุ่มนั้น ก็ได้พบเหตุการณ์ แปลกประหลาดอื่น เช่นกัน ภิกษุทั้ง ๓ กลุ่ม ก็เดินทาง มาบรรจบกันในระหว่างทาง รวมเป็นพวกเดียวกัน แล้วก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ก็นั่ง ณ ที่สมควร และได้กราบทูล ถึงเหตุที่พวกตนพบเห็นมา แด่พระศาสดา พระศาสดา ได้ตรัสพยากรณ์ แก่ภิกษุกลุ่มที่ ๑ ว่า "ภิกษุทั้งหลาย กาตัวนั้น ได้เสวยผลกรรม ที่ตนทำแล้ว นั่นแหละโดยแท้ เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะในอดีตกาล ชาวนาผู้หนึ่งในกรุงพาราณสี ฝึกโคของเขาอยู่ แต่ไม่อาจฝึกได้ เหตุด้วยว่า โคของเขานั้น เดินไปได้หน่อยหนึ่ง แล้วก็นอนเสีย แม้ว่าเขาจะตีให้ลุกขึ้นแล้ว เมื่อเดินไปได้หน่อยหนึ่ง มันก็กลับนอนเสีย เหมือนเดิมอีกนั่นแล ชาวนาผู้นั้น แม้จะพยายามแล้วพยายามอีก ก็ไม่อาจฝึกโคนั้นได้ จนเขาโมโห และถูกความโกรธครอบงำ จึงกล่าวไปว่า "บัดนี้ เจ้าจงนอนให้สบายเถิด" พูดจบแล้ว ก็ทำโคนั้น ให้เป็นดุจฟ่อนฟาง พันคอโคตัวนั้นด้วยฟาง แล้วก็จุดไฟเผา โคตัวนั้น ก็ถูกไฟคลอกตาย ในที่ตรงนั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย กรรมอันเป็นบาป อันเขาทำแล้วในครั้งนั้น เขาจึงไหม้ อยู่ในนรกสิ้นกาลนาน และเพราะวิบากของกรรมนั้น เขาจึงมาเกิดเป็นกา ๗ ครั้ง และก็ถูกไฟไหม้ตาย ในอากาศอย่างนั้น ก็เพราะ ด้วยวิบากที่เหลือ"
เมื่อพระศาสดา ทรงพยากรณ์ปัญหา ที่ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลถามแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง จึงได้กราบทูลถามพระศาสดาว่า "ความหนีพ้น ย่อมไม่มี แก่สัตว์ที่ทำกรรมชั่วนั้นไว้ ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี ดำลงไป สู่มหาสมุทรก็ดี หนีเข้าไปสู่ซอกเขาก็ดีหรือ พระพุทธเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสตอบว่า "อย่างนั้นแหละภิกษุ แม้ในที่ทั้งหลาย มีอากาศเป็นต้น สถานที่สักแห่งหนึ่ง ที่บุคคลอยู่แล้ว พึงหนีพ้น จากกรรมชั่วได้นั้น ไม่มี" จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปอีกว่า "บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ ถึงจะเหาะขึ้นไปในอากาศ ก็ไม่พ้นจากบาปกรรมไปได้ ถึงจะดำลงไปในมหาสมุทร ก็ไม่พ้นจากบาปกรรมไปได้ ถึงจะเข้าไปหลบในซอกเขา ก็ไม่พ้นจากบาปกรรมไปได้ เพราะไม่มีแผ่นดินสักส่วนหนึ่ง ที่คนทำบาป ยืนอยู่แล้ว จะพ้นจากบาปกรรมไปได้" เมื่อจบพระธรรมเทศนานี้ ภิกษุเหล่านั้น ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น พระธรรมเทศนา มีประโยชน์แม้แก่มหาชน ผู้มาประชุมกันแล้ว ดังนี้แล
ฉะนั้น ก่อนที่จะกระทำกรรมใดๆ ลงไป พิจารณาให้ดีว่า การกระทำนั้น ได้ไปเบียดเบียนผู้อื่น หรือไม่ ถ้าการกระทำนั้น เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ก็อย่าได้ไปกระทำ เพราะการเบียดเบียนนั้น ย่อมจะนำทุกข์มาให้ตัวเอง ความไม่เบียดเบียน หมายถึง ความไม่ข่มเหงรังแกผู้อื่น มีความปรารถนาให้ผู้อื่น มีความสุขกาย และสบายใจ บุคคลผู้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้ได้รับความเดือดร้อน มีแต่ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ด้วยการเจริญเมตตาจิต ปรารถนาสุขให้หมู่ชน หรือสังคม อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข และกล่าวคำสัตย์ คือพูดแต่คำจริง คำที่ถูกต้อง ไม่ยักย้ายแปรผัน ไปเป็นอย่างอื่น และประพฤติด้วยประโยชน์ เมื่อบุคคลประพฤติตามแล้ว พบแต่ความสุขสงบ เพราะคำสัตย์นั้น เป็นความหมายของความดี เป็นการนำมาซึ่ง ความสามัคคี อันเป็นทางแห่งความสุขสงบ ประกอบไปด้วยประโยชน์ บุคคลผู้มีความสัตย์ ไว้ประจำตัวแล้ว ไปที่ไหน ก็มีแต่คนเคารพนับถือ เพราะเหตุแห่งความสัตย์ ความจริงใจ จึงได้ประสบพบแต่ความสุข ความเจริญตลอดไป แม้ละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว หรือไปสู่สถานที่ไหนๆ ก็ย่อมไม่เศร้าโศก มีแต่ความสดชื่นเบิกบาน ปราโมทย์ตลอดกาลนาน
บุคคลผู้ที่ไม่เบียดเบียน หรือไม่ข่มเหงรังแกผู้อื่น ให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน มีแต่ความปรารถนาดี ให้ผู้อื่นได้รับความสุขกาย สบายใจ ด้วยการเจริญเมตตาจิต แผ่ไปในสังคม หรือหมู่ชน อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข พร้อมทั้งกล่าวแต่คำสัตย์ คำพูดดีมีความจริงใจ กล่าวสิ่งที่เป็นประโยชน์ตนเอง และผู้อื่น จึงเป็นเหตุ ให้ได้รับความสุขความเจริญตลอดไป ครับ
ขออนุโมทนาบุญ และกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ ทุกท่าน ที่ให้คติธรรม และข้อคิด ในการดำเนินชีวิต และขออนุโมทนาบุญ กับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วม ในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ
บางคนนั้น อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากจะตายจากโลกนี้ไป และไม่ใช่เพียงแต่ภพชาตินี้เท่านั้น แม้ในภพชาติไหนก็ตาม เขาก็ยังอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่อยากตาย เพราะรักความสุข และเกลียดความทุกข์ แต่การกระทำใดๆ ที่เราคิดว่า จะทำให้ตัวเองนั้น ได้พบกับความสุข ในภพชาตินี้ แต่ถ้าหากผลของการกระทำนั้น จะทำให้เรา ต้องพบความทุกข์ในภพชาติต่อไป เราควรจะกระทำ หรือสร้างกรรมไม่ดีต่างๆ หรือไม่ คลิบนี้ผมจึงเอาคติธรรมและข้อคิด จากครูบาอาจารย์ มาให้รับชม เผื่อจะเป็นประโยชน์ และเป็นข้อคิดให้กับทุกท่าน ในการใช้ชีวิต เพราะการกระทำ ที่ไม่ดีต่างๆ นั้น หากเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น การกระทำนั้น ก็ไม่ได้ทำให้เรา พบกับความสุขที่แท้จริงได้ แม้ในปัจจุบันนี้ก็ตาม
ถ้าเรา ชอบเบียดเบียนผู้อื่น และชอบละเมิดศีลอยู่บ่อยๆ เราก็จะได้รับความทุกข์ จากการกระทำไม่ดีเหล่านั้น อย่างเช่น จะมีความเสื่อมในทรัพย์สมบัติ มีชื่อเสียงที่ไม่ดีกระฉ่อนออกไป เป็นคนที่ขี้หลงขี้ลืมง่าย สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เป็นต้น แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราตั้งเจตนาไว้ว่า จะไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตั้งเจตนา จะรักษาศีล เราก็จะเป็นคนที่ได้รับอานิสงส์ จากการกระทำความดี อย่างเช่น มีโภคทรัพย์ ไม่เดือดร้อนในเรื่องเงินทอง มีคนคอยช่อยเหลือ มีกิตติศัพท์ชื่อเสียงดีงาม จะไปในสถานที่ใด ก็จะมีความกล้าไม่เก้อเขิน มีสติปัญญาดี ไม่หลงลืมง่าย หลังจากตายไปแล้ว ก็ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครับ
การเบียดเบียนผู้อื่น จะนำทุกข์มาให้ตนเองนั้น มีตัวอย่าง เรื่องของคน ๓ จำพวก ซึ่งเล่าไว้ดังนี้ ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี มีภิกษุกลุ่มหนึ่ง เดินทางมาเพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ในระหว่างทางนั้น ได้เข้าไปในบ้านแห่งหนึ่ง เพื่อบิณฑบาต ชาวบ้านก็รับบาตร ของภิกษุเหล่านั้น แล้วนิมนต์ให้นั่งรอในโรงฉัน ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว ระหว่างรอเวลาบิณฑบาต ก็ได้นั่งฟังธรรมอยู่ และในขณะนั้น มีหญิงคนหนึ่ง กำลังหุงข้าวและปรุงอาหารอยู่ เปลวไฟได้ลุกขึ้นจากเตา ของผู้หญิงคนนั้นไปติดที่ชายคา ไฟก็ได้ลามไปติดเสวียนหญ้าอันหนึ่ง แล้วปลิวลอยขึ้นจากชายคา ลอยสูงไปบนท้องฟ้า ในขณะเดียวกันนั้น ก็มีกาตัวหนึ่ง บินมาทางอากาศโดยไม่ทันระวัง สอดคอเข้าไปในเสวียนหญ้านั้น จนถูกเสวียนหญ้า ที่ลุกติดไฟพันคออยู่ แล้วก็ไหม้ตกลงมาตาย ที่กลางหมู่บ้าน ภิกษุทั้งหลาย เห็นเหตุการณ์แล้ว ก็คิดว่า "โอ กรรมนี้หนักเหลือเกิน ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงดูกาตัวนี้ ใครจะรู้ว่ากรรม ที่กาตัวนี้เคยทำเอาไว้ พวกเราจะทูลถาม กรรมของกาตัวนี้ จากพระศาสดา" ดังนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็เดินทางต่อ เพื่อไปเฝ้าพระศาสดา
ระหว่างนั้น ก็ยังมีภิกษุอีก ๒ กลุ่ม กำลังเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพื่อเข้าเฝ้าพระศาสดา เช่นเดียวกัน และภิกษุทั้ง ๒ กลุ่มนั้น ก็ได้พบเหตุการณ์ แปลกประหลาดอื่น เช่นกัน ภิกษุทั้ง ๓ กลุ่ม ก็เดินทาง มาบรรจบกันในระหว่างทาง รวมเป็นพวกเดียวกัน แล้วก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ก็นั่ง ณ ที่สมควร และได้กราบทูล ถึงเหตุที่พวกตนพบเห็นมา แด่พระศาสดา พระศาสดา ได้ตรัสพยากรณ์ แก่ภิกษุกลุ่มที่ ๑ ว่า "ภิกษุทั้งหลาย กาตัวนั้น ได้เสวยผลกรรม ที่ตนทำแล้ว นั่นแหละโดยแท้ เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะในอดีตกาล ชาวนาผู้หนึ่งในกรุงพาราณสี ฝึกโคของเขาอยู่ แต่ไม่อาจฝึกได้ เหตุด้วยว่า โคของเขานั้น เดินไปได้หน่อยหนึ่ง แล้วก็นอนเสีย แม้ว่าเขาจะตีให้ลุกขึ้นแล้ว เมื่อเดินไปได้หน่อยหนึ่ง มันก็กลับนอนเสีย เหมือนเดิมอีกนั่นแล ชาวนาผู้นั้น แม้จะพยายามแล้วพยายามอีก ก็ไม่อาจฝึกโคนั้นได้ จนเขาโมโห และถูกความโกรธครอบงำ จึงกล่าวไปว่า "บัดนี้ เจ้าจงนอนให้สบายเถิด" พูดจบแล้ว ก็ทำโคนั้น ให้เป็นดุจฟ่อนฟาง พันคอโคตัวนั้นด้วยฟาง แล้วก็จุดไฟเผา โคตัวนั้น ก็ถูกไฟคลอกตาย ในที่ตรงนั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย กรรมอันเป็นบาป อันเขาทำแล้วในครั้งนั้น เขาจึงไหม้ อยู่ในนรกสิ้นกาลนาน และเพราะวิบากของกรรมนั้น เขาจึงมาเกิดเป็นกา ๗ ครั้ง และก็ถูกไฟไหม้ตาย ในอากาศอย่างนั้น ก็เพราะ ด้วยวิบากที่เหลือ"
เมื่อพระศาสดา ทรงพยากรณ์ปัญหา ที่ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลถามแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง จึงได้กราบทูลถามพระศาสดาว่า "ความหนีพ้น ย่อมไม่มี แก่สัตว์ที่ทำกรรมชั่วนั้นไว้ ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี ดำลงไป สู่มหาสมุทรก็ดี หนีเข้าไปสู่ซอกเขาก็ดีหรือ พระพุทธเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสตอบว่า "อย่างนั้นแหละภิกษุ แม้ในที่ทั้งหลาย มีอากาศเป็นต้น สถานที่สักแห่งหนึ่ง ที่บุคคลอยู่แล้ว พึงหนีพ้น จากกรรมชั่วได้นั้น ไม่มี" จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปอีกว่า "บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ ถึงจะเหาะขึ้นไปในอากาศ ก็ไม่พ้นจากบาปกรรมไปได้ ถึงจะดำลงไปในมหาสมุทร ก็ไม่พ้นจากบาปกรรมไปได้ ถึงจะเข้าไปหลบในซอกเขา ก็ไม่พ้นจากบาปกรรมไปได้ เพราะไม่มีแผ่นดินสักส่วนหนึ่ง ที่คนทำบาป ยืนอยู่แล้ว จะพ้นจากบาปกรรมไปได้" เมื่อจบพระธรรมเทศนานี้ ภิกษุเหล่านั้น ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น พระธรรมเทศนา มีประโยชน์แม้แก่มหาชน ผู้มาประชุมกันแล้ว ดังนี้แล
ฉะนั้น ก่อนที่จะกระทำกรรมใดๆ ลงไป พิจารณาให้ดีว่า การกระทำนั้น ได้ไปเบียดเบียนผู้อื่น หรือไม่ ถ้าการกระทำนั้น เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ก็อย่าได้ไปกระทำ เพราะการเบียดเบียนนั้น ย่อมจะนำทุกข์มาให้ตัวเอง ความไม่เบียดเบียน หมายถึง ความไม่ข่มเหงรังแกผู้อื่น มีความปรารถนาให้ผู้อื่น มีความสุขกาย และสบายใจ บุคคลผู้ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ให้ได้รับความเดือดร้อน มีแต่ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ด้วยการเจริญเมตตาจิต ปรารถนาสุขให้หมู่ชน หรือสังคม อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข และกล่าวคำสัตย์ คือพูดแต่คำจริง คำที่ถูกต้อง ไม่ยักย้ายแปรผัน ไปเป็นอย่างอื่น และประพฤติด้วยประโยชน์ เมื่อบุคคลประพฤติตามแล้ว พบแต่ความสุขสงบ เพราะคำสัตย์นั้น เป็นความหมายของความดี เป็นการนำมาซึ่ง ความสามัคคี อันเป็นทางแห่งความสุขสงบ ประกอบไปด้วยประโยชน์ บุคคลผู้มีความสัตย์ ไว้ประจำตัวแล้ว ไปที่ไหน ก็มีแต่คนเคารพนับถือ เพราะเหตุแห่งความสัตย์ ความจริงใจ จึงได้ประสบพบแต่ความสุข ความเจริญตลอดไป แม้ละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว หรือไปสู่สถานที่ไหนๆ ก็ย่อมไม่เศร้าโศก มีแต่ความสดชื่นเบิกบาน ปราโมทย์ตลอดกาลนาน
บุคคลผู้ที่ไม่เบียดเบียน หรือไม่ข่มเหงรังแกผู้อื่น ให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน มีแต่ความปรารถนาดี ให้ผู้อื่นได้รับความสุขกาย สบายใจ ด้วยการเจริญเมตตาจิต แผ่ไปในสังคม หรือหมู่ชน อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข พร้อมทั้งกล่าวแต่คำสัตย์ คำพูดดีมีความจริงใจ กล่าวสิ่งที่เป็นประโยชน์ตนเอง และผู้อื่น จึงเป็นเหตุ ให้ได้รับความสุขความเจริญตลอดไป ครับ
ขออนุโมทนาบุญ และกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ ทุกท่าน ที่ให้คติธรรม และข้อคิด ในการดำเนินชีวิต และขออนุโมทนาบุญ กับทุกท่าน ที่มีส่วนร่วม ในการจัดทำคลิบนี้ และรับชมคลิบนี้ สาธุครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น