อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณ์ 3 ประการ
สวัสดีครับ วันนี้ผมมีคติธรรมและข้อคิด
เรื่องของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นไตรลักษณ์ ๓ ประการ มาฝากครับ
ไตรลักษณ์ หมายถึง สภาพที่เป็นปกติวิสัย หรือเป็นไปตามธรรมชาติ หรืออาจเรียกว่า เป็นทฤษฎีแห่งความเหมาะ เพราะทุกสิ่งบนโลกนี้ จะอยู่ในกฎ หรือภาวะเช่นนี้ เหมือนกันทั้งหมด ไตรลักษณ์ จึงเป็นหลักสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่มุ่งสอนให้เข้าใจชีวิต ที่เป็นไป ตามธรรมดา ตามความเป็นจริง ทำให้เรา ตระหนักรู้ และเกิดความเข้าใจว่า ชีวิตนั้นเป็นอย่างไร เกิดความรู้เท่าทัน และรับรู้ ต่อทุกอาการของการปฏิบัติตน ครับ
ในพระพุทธศาสนา มีหลักสัจธรรม หรือคำสอนที่สำคัญ สำหรับพุทธศาสนิกชน อยู่เป็นจานวนมาก โดยไตรลักษณ์นั้น ก็เป็นหลักคำสอน ที่สำคัญประการหนึ่ง ที่มุ่งให้ระลึกถึง ความเป็นปกติ ธรรมดา ของสรรพสิ่งบนโลก สอดรับกับคำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป เป็นอาการสามัญ ของทุกสรรพสิ่ง ทั้งนามธรรม และรูปธรรม คำว่า ไตรลักษณ์ เป็นคำสันสกฤต ที่นำมาใช้เป็นภาษาไทย ซึ่งมาจากคำว่า ไตร หรือ ติ ที่แปลว่า ๓ รวมกับคำว่า ลักษณะ หรือ ลักขณะ ที่แปลว่า ที่เป็นสามัญทั่วไป รวมกันแล้ว จึงหมายความว่า ลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป ๓ ประการ ซึ่งมีดั่งต่อไปนี้
๑. อนิจจัง หรืออนิจจตา อนิจจัง หรืออนิจจตา แห่งไตรลักษณ์ ๓ คือ ความเป็นของไม่เที่ยง หมายถึง ความไม่เที่ยง ความไม่ถาวร คงที่แน่นอน ความไม่คงที่ อยู่ได้ในสภาพเดิมตลอดไป ภาวะที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมสลายแปรปรวนไป กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งใดหยุดนิ่ง คงที่อยู่อย่างเดิม ได้ตลอดไป ขึ้นอยู่กับว่า จะเปลี่ยนแปลงช้า หรือเปลี่ยนแปลงเร็วเท่านั้น แต่ที่แน่ๆ ก็คือ สิ่งต่างๆ ทั้งหมด จะถูกกาลเวลา ทำให้เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสภาพไปอย่างแน่นอน สิ่งใดมีการเกิดขึ้น ในตอนต้น สิ่งนั้นแม้จะคงมีอยู่ ในท่ามกลาง แต่ก็ยังต้องมี ความเสื่อมสลาย ดับไปในที่สุด ซึ่งนับเป็นสิ่งธรรมดาแท้ของโลก
หลักอนิจจตา หรือ ความไม่เที่ยง จะปรากฏขึ้น เมื่อสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะมีรูปร่าง รูปธรรม หรือไม่มีรูปร่าง อรูปธรรม ก็ตาม มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสูญสลายไป ถ้าเราใส่ใจ และพิจารณาให้ดีในตนเอง และสรรพสิ่งรอบข้าง ก็จะเห็นได้ว่า คนเรามักจะเข้าไปยึดติด สิ่งต่างๆ จนเกิดความเข้าใจผิด คิดว่า สิ่งที่ตนเห็น หรือเกี่ยวข้องมีตัวตนจริงๆ แล้วถือมั่น ยึดมั่น พยายามรักษา ป้องกันมิให้สิ่ง ที่ตนชอบ พอใจ รักใคร่ เปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าเป็นสิ่ง ที่ตนไม่ชอบ หรือไม่รักใคร่ ก็จะพยายามให้สิ่งนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดี ภาวะของความไม่เที่ยง มีสภาพเป็นกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ขึ้นอยู่กับการ สมมติบัญญัติ แต่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบเจริญ หรือเสื่อม ก็คือความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงนั่นเอง
พระพุทธศาสนา สอนหลักอนิจจตา มิใช่ให้เรายึดติด หรือหลีกหนีความไม่เที่ยง แต่สอนเพื่อให้เราเห็น หรือเข้าใจกฎธรรมชาติ ของความไม่เที่ยงว่า ทุกสิ่งเป็นไป ภายใต้กฎของการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ถาวร อยู่อย่างเดิมได้ตลอดไป เมื่อเรามองเห็น และเข้าใจกฎธรรมชาตินี้แล้ว ก็จะเกิดความรู้เท่าทัน สามารถดึงเอาคุณค่า ของความจริงข้อนี้ มาปฏิบัติดำเนินชีวิต ได้อย่างเหมาะสม โดยการ ไม่เข้าไปยึดมั่นว่า เป็น “ตัวนั้น สิ่งนั้น สิ่งนี้” อันจะทำให้เกิดความยึดมั่น ต่อไปว่า “ของเรา” และโดยการไม่ประมาท ในกาลเวลา ในชีวิต และวัย เป็นต้น การรู้ และเข้าใจ จนเกิดความรู้เท่าทัน ต่อกฎของความไม่เที่ยงอย่างนี้ จะช่วยให้เรา ไม่เกิดความทุกข์ เกินสมควร ในยามเมื่อเกิดความเสื่อม ความสูญเสีย หรือพลัดพรากขึ้นกับตน และไม่หลง จนเกิดความประมาท ในความเจริญ และความสุขสบาย
ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง ของหลัก อนิจจตา ปรากฏขณะที่ สรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไป ใน ๓ จังหวะ คือ สิ่งที่เป็นรูปธรรม มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สังเกตได้จาก ๓ จังหวะนี้ คือ
๑. อุปจยะ มีการเกิดขึ้น
๒. สันตติ มีการสืบต่อ
๓. ชรตา มีการตาย แตกดับ และสลายไป ส่วนสิ่งที่เป็นนามธรรม มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สังเกตได้จาก ๓ จังหวะ คือ
๑. อุปปาทะ มีการเกิดขึ้นของความรู้สึก จำได้ หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
๒. ฐิติ มีการตั้งอยู่ชั่วขณะ ของความรู้สึก จำได้หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
๓. ภังคะ มีการแตกดับสิ้นสุดไป ของความรู้สึก จำได้หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
๒. ทุกฺขัง หรือทุกขตา ทุกฺขัง หรือทุกขตา แห่งไตรลักษณ์ 3 คือ ความเป็นทุกข์ หมายถึง ความผิดหวัง ที่เกิดจากสิ่งที่ ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของตนเอง รวมถึงภาวะ ที่ถูกบีบคั้น ด้วยการเกิดขึ้น ของเหตุอันไม่พึงประสงค์ เกิดสภาพฝืนทน และขัดแย้งอยู่ในตัว กล่าวคือ สิ่งต่างๆ ที่มี ล้วนมีองค์ประกอบจากปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถดำรงอยู่ ตามสภาพเดิมได้ มีเปลี่ยนแปลง เสื่อมถอย และสลาย ไปตามกาลเวลา
หลักทุกขตา หรือ ความเป็นทุกข์ จะปรากฏขึ้น เมื่อสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะมีรูปร่าง รูปธรรม หรือไม่มีรูปร่าง อรูปธรรม ก็ตาม กำลังตั้งอยู่ หรือดำเนินไป ถ้าเราใส่ใจ พิจารณาให้ดีในตนเอง และสรรพสิ่งรอบข้าง ก็จะได้เห็นคำว่า “ทุกข์” ที่หมายถึง ในหลักไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะนี้ มีความหมายกว้างทั่วไป ทั้งแก่สิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต มีการจัดแบ่งประเภท ของทุกข์ไว้หลายแบบด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในเรื่องของทุกข์ ก็มีข้อ ควรทำความเข้าใจอยู่ ๒ ประการ ด้วยกัน คือ
ประการที่ ๑.ทุกข์ในไตรลักษณ์ กับ ทุกข์ในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ทุกข์ที่ปรากฏอยู่ ในหมวดธรรมสำคัญ ๓ หมวด คือ เวทนา เรียกว่า “ทุกขเวทนา” ประกอบด้วย เวทนา ๓ คือ ทุกข์ สุข อุเบกขา และเวทนา 5 คือ ทุกข์ สุข โทมนัส โสมนัส และ อุเบกขา
๒. ไตรลักษณ์ เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ๓. อริยสัจ ๔ เรียกว่า “ทุกขอริยสัจ” คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ประการที่ ๒. ลักษณะของทุกข์ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา มักเป็นทุกข์ในอริยสัจ ๔ เพราะเป็นทุกที่เกิดจากสภาพจิต ที่ปรุงแต่งขึ้น ด้วยปุถุชน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่วนทุกข์ ที่เกี่ยวข้องในไตรลักษณ์ ๓ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินชีวิต หรือการงานอาชีพโดยตรง ดังนั้น ทุกข์ในข้อนี้ จึงหมายถึง ทุกข์ในไตรลักษณ์ ที่หมายรวม ทั้งสิ่งมีชีวิตคือ มนุษย์ และสัตว์ และไม่มีชีวิต เช่น บ้านเรือน ภูเขา ก้อนหิน เป็นต้น ซึ่งต้องมีความทุกข์ มีการทรุดโทรม หรือแก่ชราเป็นธรรมดา ทุกข์ชนิดนี้ สัมพันธ์ ข้องเกี่ยวกับ หลักอนิจจตา เป็นต้นว่า ความคงทนอยู่ ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นทุกข์ ก็เพราะสรรพสิ่ง มีการเปลี่ยนแปลง เหตุแห่งปัจจัย คือ อนิจจัง
๓. อนัตตา หรืออนัตตตา อนัตตา หรืออนัตตตา แห่งไตรลักษณ์ ๓ คือ ความเป็นอนัตตา หมายถึง ความไม่ใช่ตัวตน หรือ ความไม่มีตัวตน แท้จริงของสรรพสิ่ง และไม่สามารถควบคุม ให้คงอยู่ได้ ตามความมุ่งหมายของตน กล่าวคือ ชีวิต หรือร่างกายนี้ มิอาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวตนแท้จริง ของเรา เพราะที่เรามองเห็นเป็นรูปร่าง หรือเป็นชีวิตนี้ ก็เพราะมีการรวมกัน ของขันธ์ ๕ คือ
๑ รูป หรือรูปขันธ์ ๑ อันเป็นส่วนรูป หรือกาย มีส่วนประกอบ คือ มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ
๒. อุปทายรูป ๒๔ และนาม หรือนามขันธ์ ๔ ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งนามขันธ์ทั้ง ๔ นี้ เป็นส่วนนาม หรือจิต เมื่อส่วนประกอบ ด้านรูปขันธ์ หรือนามขันธ์ทั้ง ๕ ประกอบรวมกันเข้า จึงเป็นรูปร่าง หรือชีวิตเกิดขึ้น ก่อนในเบื้องต้น อยู่ได้เพียงชั่วขณะเท่านั้น และย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ทรุดโทรม จนในที่สุด ก็แตกดับ สลายสูญสิ้น ซึ่งเป็นไป ตามกฎของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น กับทุกสรรพสิ่ง
สรรพสิ่งนั้น หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่บนโลก และในจักรวาล รวมทั้ง ตัวจักรวาลเองด้วย ก็ตกอยู่ภายใต้ความเป็นอนัตตาเช่นกัน โดยสรุป ก็คือ ไม่มีสิ่งใดเลย ที่ไม่เป็นอนัตตา ทั้งนี้ คำว่า สรรพสิ่ง ที่มีความหมายครอบคลุม สรรพสิ่งที่ว่านี้ เป็น ๒ ประเภท คือ
สิ่งที่เป็นสังขตธรรม คือ สิ่งที่มีเงื่อนไข ปัจจัยปรุงแต่ง ให้เกิดขึ้น ดำรงอยู่ เสื่อมลง และดับสลายไป มีลักษณะเฉพาะตน
สิ่งที่เป็นอสังขตธรรม คือ สิ่งที่คงอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีเงื่อนไขปัจจัยอะไร ไม่ต้องอาศัยสิ่งใดอื่นๆ มีลักษณะตรงกันข้าม กับสังขตธรรม คือ ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับสลาย และเมื่อดำรงอยู่ ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรากฏ ได้แก่ นิพพาน
ไตรลักษณ์ทั้ง ๓ ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เป็นสิ่งชาวพุทธ พึงระลึกได้ หากเกิดทุกขัง คือ ความทุกข์ ที่เกิดซ้ำไปซ้ำมาแล้ว ให้พึงใช้ปัญญา มองให้เห็น ซึ่งความไม่เที่ยง ของสรรพสิ่งบนโลก คือ อนิจจัง จะนำไปสู่ความเห็นแจ้งในอนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน ที่ไม่มีสิ่งใด คงอยู่ได้ โดยไม่มีวันเสื่อมสลาย อย่างไรก็ตาม หลักสัจธรรมไตรลักษณ์ ในพระพุทธศาสนา ยังเป็นหลักธรรม ที่กล่าวถึง ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ล้วนย่อมตกอยู่ ในสภาวะเดียวกัน คือ มีการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับสูญ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง อันเป็นกฎของธรรมชาติ ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้
ขออนุโมทนาบุญ และกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่าน ที่ให้คติธรรม และข้อคิด ในการดำเนินชีวิต และขออนุโมทนาบุญ กับทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้
ขอบคุณที่มา http://purifilm.blogspot.com/2017/12/3.html
ไตรลักษณ์ หมายถึง สภาพที่เป็นปกติวิสัย หรือเป็นไปตามธรรมชาติ หรืออาจเรียกว่า เป็นทฤษฎีแห่งความเหมาะ เพราะทุกสิ่งบนโลกนี้ จะอยู่ในกฎ หรือภาวะเช่นนี้ เหมือนกันทั้งหมด ไตรลักษณ์ จึงเป็นหลักสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่มุ่งสอนให้เข้าใจชีวิต ที่เป็นไป ตามธรรมดา ตามความเป็นจริง ทำให้เรา ตระหนักรู้ และเกิดความเข้าใจว่า ชีวิตนั้นเป็นอย่างไร เกิดความรู้เท่าทัน และรับรู้ ต่อทุกอาการของการปฏิบัติตน ครับ
ในพระพุทธศาสนา มีหลักสัจธรรม หรือคำสอนที่สำคัญ สำหรับพุทธศาสนิกชน อยู่เป็นจานวนมาก โดยไตรลักษณ์นั้น ก็เป็นหลักคำสอน ที่สำคัญประการหนึ่ง ที่มุ่งให้ระลึกถึง ความเป็นปกติ ธรรมดา ของสรรพสิ่งบนโลก สอดรับกับคำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป เป็นอาการสามัญ ของทุกสรรพสิ่ง ทั้งนามธรรม และรูปธรรม คำว่า ไตรลักษณ์ เป็นคำสันสกฤต ที่นำมาใช้เป็นภาษาไทย ซึ่งมาจากคำว่า ไตร หรือ ติ ที่แปลว่า ๓ รวมกับคำว่า ลักษณะ หรือ ลักขณะ ที่แปลว่า ที่เป็นสามัญทั่วไป รวมกันแล้ว จึงหมายความว่า ลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป ๓ ประการ ซึ่งมีดั่งต่อไปนี้
๑. อนิจจัง หรืออนิจจตา อนิจจัง หรืออนิจจตา แห่งไตรลักษณ์ ๓ คือ ความเป็นของไม่เที่ยง หมายถึง ความไม่เที่ยง ความไม่ถาวร คงที่แน่นอน ความไม่คงที่ อยู่ได้ในสภาพเดิมตลอดไป ภาวะที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมสลายแปรปรวนไป กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งใดหยุดนิ่ง คงที่อยู่อย่างเดิม ได้ตลอดไป ขึ้นอยู่กับว่า จะเปลี่ยนแปลงช้า หรือเปลี่ยนแปลงเร็วเท่านั้น แต่ที่แน่ๆ ก็คือ สิ่งต่างๆ ทั้งหมด จะถูกกาลเวลา ทำให้เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสภาพไปอย่างแน่นอน สิ่งใดมีการเกิดขึ้น ในตอนต้น สิ่งนั้นแม้จะคงมีอยู่ ในท่ามกลาง แต่ก็ยังต้องมี ความเสื่อมสลาย ดับไปในที่สุด ซึ่งนับเป็นสิ่งธรรมดาแท้ของโลก
หลักอนิจจตา หรือ ความไม่เที่ยง จะปรากฏขึ้น เมื่อสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะมีรูปร่าง รูปธรรม หรือไม่มีรูปร่าง อรูปธรรม ก็ตาม มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสูญสลายไป ถ้าเราใส่ใจ และพิจารณาให้ดีในตนเอง และสรรพสิ่งรอบข้าง ก็จะเห็นได้ว่า คนเรามักจะเข้าไปยึดติด สิ่งต่างๆ จนเกิดความเข้าใจผิด คิดว่า สิ่งที่ตนเห็น หรือเกี่ยวข้องมีตัวตนจริงๆ แล้วถือมั่น ยึดมั่น พยายามรักษา ป้องกันมิให้สิ่ง ที่ตนชอบ พอใจ รักใคร่ เปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าเป็นสิ่ง ที่ตนไม่ชอบ หรือไม่รักใคร่ ก็จะพยายามให้สิ่งนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดี ภาวะของความไม่เที่ยง มีสภาพเป็นกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ขึ้นอยู่กับการ สมมติบัญญัติ แต่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบเจริญ หรือเสื่อม ก็คือความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงนั่นเอง
พระพุทธศาสนา สอนหลักอนิจจตา มิใช่ให้เรายึดติด หรือหลีกหนีความไม่เที่ยง แต่สอนเพื่อให้เราเห็น หรือเข้าใจกฎธรรมชาติ ของความไม่เที่ยงว่า ทุกสิ่งเป็นไป ภายใต้กฎของการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ถาวร อยู่อย่างเดิมได้ตลอดไป เมื่อเรามองเห็น และเข้าใจกฎธรรมชาตินี้แล้ว ก็จะเกิดความรู้เท่าทัน สามารถดึงเอาคุณค่า ของความจริงข้อนี้ มาปฏิบัติดำเนินชีวิต ได้อย่างเหมาะสม โดยการ ไม่เข้าไปยึดมั่นว่า เป็น “ตัวนั้น สิ่งนั้น สิ่งนี้” อันจะทำให้เกิดความยึดมั่น ต่อไปว่า “ของเรา” และโดยการไม่ประมาท ในกาลเวลา ในชีวิต และวัย เป็นต้น การรู้ และเข้าใจ จนเกิดความรู้เท่าทัน ต่อกฎของความไม่เที่ยงอย่างนี้ จะช่วยให้เรา ไม่เกิดความทุกข์ เกินสมควร ในยามเมื่อเกิดความเสื่อม ความสูญเสีย หรือพลัดพรากขึ้นกับตน และไม่หลง จนเกิดความประมาท ในความเจริญ และความสุขสบาย
ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง ของหลัก อนิจจตา ปรากฏขณะที่ สรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไป ใน ๓ จังหวะ คือ สิ่งที่เป็นรูปธรรม มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สังเกตได้จาก ๓ จังหวะนี้ คือ
๑. อุปจยะ มีการเกิดขึ้น
๒. สันตติ มีการสืบต่อ
๓. ชรตา มีการตาย แตกดับ และสลายไป ส่วนสิ่งที่เป็นนามธรรม มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สังเกตได้จาก ๓ จังหวะ คือ
๑. อุปปาทะ มีการเกิดขึ้นของความรู้สึก จำได้ หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
๒. ฐิติ มีการตั้งอยู่ชั่วขณะ ของความรู้สึก จำได้หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
๓. ภังคะ มีการแตกดับสิ้นสุดไป ของความรู้สึก จำได้หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
๒. ทุกฺขัง หรือทุกขตา ทุกฺขัง หรือทุกขตา แห่งไตรลักษณ์ 3 คือ ความเป็นทุกข์ หมายถึง ความผิดหวัง ที่เกิดจากสิ่งที่ ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของตนเอง รวมถึงภาวะ ที่ถูกบีบคั้น ด้วยการเกิดขึ้น ของเหตุอันไม่พึงประสงค์ เกิดสภาพฝืนทน และขัดแย้งอยู่ในตัว กล่าวคือ สิ่งต่างๆ ที่มี ล้วนมีองค์ประกอบจากปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถดำรงอยู่ ตามสภาพเดิมได้ มีเปลี่ยนแปลง เสื่อมถอย และสลาย ไปตามกาลเวลา
หลักทุกขตา หรือ ความเป็นทุกข์ จะปรากฏขึ้น เมื่อสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะมีรูปร่าง รูปธรรม หรือไม่มีรูปร่าง อรูปธรรม ก็ตาม กำลังตั้งอยู่ หรือดำเนินไป ถ้าเราใส่ใจ พิจารณาให้ดีในตนเอง และสรรพสิ่งรอบข้าง ก็จะได้เห็นคำว่า “ทุกข์” ที่หมายถึง ในหลักไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะนี้ มีความหมายกว้างทั่วไป ทั้งแก่สิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต มีการจัดแบ่งประเภท ของทุกข์ไว้หลายแบบด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในเรื่องของทุกข์ ก็มีข้อ ควรทำความเข้าใจอยู่ ๒ ประการ ด้วยกัน คือ
ประการที่ ๑.ทุกข์ในไตรลักษณ์ กับ ทุกข์ในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ทุกข์ที่ปรากฏอยู่ ในหมวดธรรมสำคัญ ๓ หมวด คือ เวทนา เรียกว่า “ทุกขเวทนา” ประกอบด้วย เวทนา ๓ คือ ทุกข์ สุข อุเบกขา และเวทนา 5 คือ ทุกข์ สุข โทมนัส โสมนัส และ อุเบกขา
๒. ไตรลักษณ์ เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ๓. อริยสัจ ๔ เรียกว่า “ทุกขอริยสัจ” คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ประการที่ ๒. ลักษณะของทุกข์ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา มักเป็นทุกข์ในอริยสัจ ๔ เพราะเป็นทุกที่เกิดจากสภาพจิต ที่ปรุงแต่งขึ้น ด้วยปุถุชน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่วนทุกข์ ที่เกี่ยวข้องในไตรลักษณ์ ๓ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินชีวิต หรือการงานอาชีพโดยตรง ดังนั้น ทุกข์ในข้อนี้ จึงหมายถึง ทุกข์ในไตรลักษณ์ ที่หมายรวม ทั้งสิ่งมีชีวิตคือ มนุษย์ และสัตว์ และไม่มีชีวิต เช่น บ้านเรือน ภูเขา ก้อนหิน เป็นต้น ซึ่งต้องมีความทุกข์ มีการทรุดโทรม หรือแก่ชราเป็นธรรมดา ทุกข์ชนิดนี้ สัมพันธ์ ข้องเกี่ยวกับ หลักอนิจจตา เป็นต้นว่า ความคงทนอยู่ ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นทุกข์ ก็เพราะสรรพสิ่ง มีการเปลี่ยนแปลง เหตุแห่งปัจจัย คือ อนิจจัง
๓. อนัตตา หรืออนัตตตา อนัตตา หรืออนัตตตา แห่งไตรลักษณ์ ๓ คือ ความเป็นอนัตตา หมายถึง ความไม่ใช่ตัวตน หรือ ความไม่มีตัวตน แท้จริงของสรรพสิ่ง และไม่สามารถควบคุม ให้คงอยู่ได้ ตามความมุ่งหมายของตน กล่าวคือ ชีวิต หรือร่างกายนี้ มิอาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวตนแท้จริง ของเรา เพราะที่เรามองเห็นเป็นรูปร่าง หรือเป็นชีวิตนี้ ก็เพราะมีการรวมกัน ของขันธ์ ๕ คือ
๑ รูป หรือรูปขันธ์ ๑ อันเป็นส่วนรูป หรือกาย มีส่วนประกอบ คือ มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ
๒. อุปทายรูป ๒๔ และนาม หรือนามขันธ์ ๔ ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งนามขันธ์ทั้ง ๔ นี้ เป็นส่วนนาม หรือจิต เมื่อส่วนประกอบ ด้านรูปขันธ์ หรือนามขันธ์ทั้ง ๕ ประกอบรวมกันเข้า จึงเป็นรูปร่าง หรือชีวิตเกิดขึ้น ก่อนในเบื้องต้น อยู่ได้เพียงชั่วขณะเท่านั้น และย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ทรุดโทรม จนในที่สุด ก็แตกดับ สลายสูญสิ้น ซึ่งเป็นไป ตามกฎของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น กับทุกสรรพสิ่ง
สรรพสิ่งนั้น หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่บนโลก และในจักรวาล รวมทั้ง ตัวจักรวาลเองด้วย ก็ตกอยู่ภายใต้ความเป็นอนัตตาเช่นกัน โดยสรุป ก็คือ ไม่มีสิ่งใดเลย ที่ไม่เป็นอนัตตา ทั้งนี้ คำว่า สรรพสิ่ง ที่มีความหมายครอบคลุม สรรพสิ่งที่ว่านี้ เป็น ๒ ประเภท คือ
สิ่งที่เป็นสังขตธรรม คือ สิ่งที่มีเงื่อนไข ปัจจัยปรุงแต่ง ให้เกิดขึ้น ดำรงอยู่ เสื่อมลง และดับสลายไป มีลักษณะเฉพาะตน
สิ่งที่เป็นอสังขตธรรม คือ สิ่งที่คงอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีเงื่อนไขปัจจัยอะไร ไม่ต้องอาศัยสิ่งใดอื่นๆ มีลักษณะตรงกันข้าม กับสังขตธรรม คือ ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับสลาย และเมื่อดำรงอยู่ ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรากฏ ได้แก่ นิพพาน
ไตรลักษณ์ทั้ง ๓ ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เป็นสิ่งชาวพุทธ พึงระลึกได้ หากเกิดทุกขัง คือ ความทุกข์ ที่เกิดซ้ำไปซ้ำมาแล้ว ให้พึงใช้ปัญญา มองให้เห็น ซึ่งความไม่เที่ยง ของสรรพสิ่งบนโลก คือ อนิจจัง จะนำไปสู่ความเห็นแจ้งในอนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน ที่ไม่มีสิ่งใด คงอยู่ได้ โดยไม่มีวันเสื่อมสลาย อย่างไรก็ตาม หลักสัจธรรมไตรลักษณ์ ในพระพุทธศาสนา ยังเป็นหลักธรรม ที่กล่าวถึง ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ล้วนย่อมตกอยู่ ในสภาวะเดียวกัน คือ มีการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับสูญ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง อันเป็นกฎของธรรมชาติ ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้
ขออนุโมทนาบุญ และกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่าน ที่ให้คติธรรม และข้อคิด ในการดำเนินชีวิต และขออนุโมทนาบุญ กับทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคลิบนี้
ขอบคุณที่มา http://purifilm.blogspot.com/2017/12/3.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น